วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้

พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติ

แหล่งการเรียนรู้ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เปิดให้เข้าชม วันพุธ-วันอาทิตย์  เวลา 09.00น - 16.00น
สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า (พื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็น ต้นมามีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวงตอนเหนือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ตั้ง อยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ








 
 
ประวัติความเป็นมา : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทยมีประวัติและพัฒนาการมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน โดยเริ่มจากพิพิธภัณฑสถานในพระราชวังและส่วนบุคคล แล้วมีพัฒนาการด้านความเจริญก้าวหน้าและแผ่ขยายไปในประเทศต่างๆ  ปัจจุบัน สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ " ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีพระราชกฤษฏีกาการแบ่งส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ขึ้น โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้แยกออกมาจากสำนักโบราณคดี เป็น "สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" ขึ้นตรงต่อกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม  และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม เพื่อศึกษาถึงเรื่องราวและความเป็นมาต่างๆ ในประวัติศาสตร์
 
 
 
 
 
 
องที่จัดแสดง :
แนวทางการจัดแสดง ปัจจุบัน พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร แบ่งการจัดแสดง ออกเป็น 3 หัวเรื่องใหญ่ ๆ คือ
1.ประวัติศาสตร์ชาติไทย จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
2.ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย จัดแสดงตามยุคสมัย คือ
    - สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงในอาคารส่วนหลัง ของ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

    - สมัยประวัติศาสตร์ จัดแสดงในอาคารใหม่ 2หลัง ที่สร้างขนาบสองข้างของหมู่วิมานเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สมัยก่อนพุทธศักราช 1800 ได้แก่ สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย และ สมัยลพบุรีจัดแสดงในอาคารมหาสุรสิงหนาท และส่วนที่ 2 คือ สมัยหลังพุทธศักราช 1800 เป็นต้นมา จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์จัดแสดงในอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

3.ประณีต ศิลป์ และ ชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงในหมู่พระวิมาน คือ พระที่นั่งวสันตพิมาน พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ และ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา ศิลปโบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องมุก เครื่องดนตรี เครื่องไม้จำหลัก ผ้าโบราณ เครื่องถ้วย 
                        นอกจากศิลปะโบราณวัตถุแล้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังมีโบราณสถานคือ พระที่นั่ง และ พระตำหนักบางองค์ ที่เป็นตัวอย่างของ งานสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภายในพระที่นั่งประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และมีจิตรกรรมฝาผนังฯลฯ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 สื่อที่ใช้ในการจัดแสดง : วัตถุโบราณ,รูปหล่อและรูปปั้นจำลอง,เนื้อหาประวัติความเป็นมา,เสียงที่บันทึกเพื่อบรรยายประกอบการชม,วิดิทัศน์
โดย แหล่งการเรียนรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นี้เหมาะแก่การเรียนรู้และนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา ประวัติศาสตร์  ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายได้
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 


 
 
 
 
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม :  พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ด้านศาสนา,วัฒนธรรม,การปกครอง,วิถีชีวิตของคนในยุคต่างๆ เราควรที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยก่อนจะไปศึกษาสถานที่จริงเพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลง